About Us
ที่มาเกี่ยวกับผู้จัดการงานวิจัย พัฒนาและนวัตกรรม (RDI Manager)
การเสริมพลังหน่วยงานในระบบ ววน. เป็นประเด็นการขับเคลื่อนงานที่สำคัญของการพัฒนาระบบ ววน. สกสว. จึงมุ่งเน้นส่งเสริมให้หน่วยงานในระบบ ววน. มีระบบและบุคลากรด้านการบริหารจัดการงานวิจัยและนวัตกรรมที่เข้มแข็ง สามารถส่งมอบผลผลิต ผลลัพธ์ และผลกระทบได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งนี้ บุคลากรในระบบ ววน. ทุกระดับ เป็นปัจจัยหนึ่งที่สำคัญ โดยเฉพาะ ผู้จัดการงานวิจัย พัฒนาและนวัตกรรม หรือ RDI manager (Research Development and Innovation Manager) ถือเป็นกลไกสำคัญในการบริหารจัดการงานวิจัยและนวัตกรรม และขับเคลื่อนให้หน่วยงานสามารถส่งมอบผลงานได้ตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ ซึ่งปัจจุบันจำนวน RDI manager ที่มีอยู่ในระบบของไทยยังขาดแคลน และต้องการการหนุนเสริมทั้งทักษะ ความรู้ ความสามารถ เพื่อให้ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ ดังนั้น การสร้าง/พัฒนา RDI manager จึงเป็นส่วนหนึ่งของยุทธศาสตร์การดำเนินงานด้านการเสริมสร้างความเข้มแข็งของหน่วยงานในระบบ ววน. นับตั้งแต่ปีงบประมาณ 2563 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อปิดช่องว่าง (Gap) ปัญหาความขาดแคลน RDI manager ของประเทศให้เพียงพอ และเป็นกลไกการขับเคลื่อนงานวิจัยของหน่วยงานในระบบ ววน. ให้เป็นไปตามเป้าหมายและสามารถผลักดันการใช้ประโยชน์จากงานวิจัยและนวัตกรรมเพื่อตอบโจทย์ประเทศ โดยมุ่งเน้นการทำงานร่วมกับภาคีเครือข่ายหลายภาคส่วนตามประสบการณ์ความเชี่ยวชาญที่สอดคล้องกับประเภทของ RDI manager
ความคาดหวังต่อบทบาทและหน้าที่ของผู้จัดการงานวิจัย พัฒนาและนวัตกรรม หรือ RDI manager
-
- กำหนด เป้าหมาย กรอบการดำเนินงาน งบประมาณ และกลยุทธ์ /บริหารทรัพยากรและ กิจกรรม (action plan) ของแผนงานที่รับผิดชอบและขับเคลื่อนให้บรรลุและสอดคล้องกับเป้าหมายและนโยบายและพันธกิจของหน่วยงาน และแผน ววน. ของประเทศ
- วิเคราะห์ Ecosystem เข้าใจ Value chain ของงาน และสามารถบูรณาการทำงานข้ามศาสตร์ได้
- ประสานงานกับหน่วยงานต่างๆ จัดให้เกิดเป็นเครือข่ายความร่วมมือทั้งภายใน/ภายนอก เพื่อผลักดันผลงานให้เกิดการนำไปใช้ประโยชน์
- ติดตาม ให้คำปรึกษา และช่วยแก้ปัญหาให้กับโครงการภายใต้แผนงาน เพื่อผลักดันให้แผนงานประสบความสำเร็จ
- มองภาพอนาคตเพื่อพัฒนาข้อเสนอแผนงานโจทย์วิจัยใหม่ที่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ ความต้องการของประเทศ ทั้งในระดับชุมชน ภาครัฐ และภาคเอกชนที่เป็นผู้ใช้ประโยชน์ผลงานวิจัยและนวัตกรรมได้
บทบาท สกสว. และการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพผู้จัดการงานวิจัย พัฒนาและนวัตกรรม หรือ RDI manager
-
-
- ออกแบบเครื่องมือ/กลไก/มาตรการสร้างแรงจูงใจ ในการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพ RDI manager
-
- พัฒนาหลักสูตรและมาตรฐานของหลักสูตรผู้จัดการงานวิจัย พัฒนาและนวัตกรรม หรือ RDI manager ด้านชุมชนและพื้นที่ ด้านเศรษฐกิจ และด้านนโยบาย โดยการพัฒนาหลักสูตร RDI manager ดังกล่าว ได้ทบทวนกรอบแนวคิดการพัฒนาที่อ้างอิงจาก Policy Profession Standards – a framework for professional development, the UK Civil Service, 2019 ซึ่งมีกรอบการพัฒนาความรู้และทักษะด้าน Policy Profession ใน 3 ด้านหลัก ได้แก่ (1) Evidence: Developing and using a sound evidence base (2) Politics: Understanding and managing the political context (3) Delivery: Planning from the outset how the policy will be delivered และดำเนินการพัฒนาโปรแกรมการสร้างขีดความสามารถของ RDI manager ที่ประกอบด้วย 6 โมดูล ได้แก่ โมดูลที่ 1 การกำหนดและออกแบบแผนงาน ววน. (RDI Planning) โมดูลที่ 2 การบริหารจัดการโครงการและแผนงาน ววน. (Program & Project Management) โมดูลที่ 3 การผลักดันงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ (Research Utilization) โมดูลที่ 4 การสื่อสารงานวิจัย (Social communication for RDI projects) โมดูลที่ 5 การติดตามและการประเมินผล (Project Monitoring and Evaluation) โมดูลที่ 6 การพัฒนาตัวเองและทักษะด้านอารมณ์ (Soft skills) อย่างไรก็ตาม โมดูลดังกล่าวสามารถปรับ/เปลี่ยนได้ตามความเหมาะสมและจุดเน้นของ RDI manager แต่ละประเภท
-
- ออกแบบเครื่องมือ/กลไก/มาตรการสร้างแรงจูงใจ ในการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพ RDI manager
-
![Picture12](https://lms.tsri.or.th/wp-content/uploads/2023/12/Picture12.png)
-
-
-
-
- การจัดทำมาตรฐานคุณวุฒิวิชาชีพ และเส้นทางอาชีพ (career path) ที่ชัดเจนของผู้จัดการงานวิจัย พัฒนาและนวัตกรรม หรือ RDI manager เพื่อพัฒนาศักยภาพและสร้างแรงจูงใจของบุคลากรในระบบ ววน. รวมทั้งเป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาศักยภาพหน่วยงานในระบบ ววน. ด้วย ในปีงบประมาณ 2566 อยู่ระหว่างการดำเนินการจัดทำร่างมาตรฐานคุณวุฒิวิชาชีพและเส้นทางความก้าวหน้าของบุคคลากรด้านการบริหารจัดการการวิจัยของประเทศไทยโดยกระบวนการมีส่วนร่วม
- การส่งเสริมและสนับสนุนให้เกิด RDI manager mobilization เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ข้ามหน่วยงาน/องค์กร เช่น ระหว่างหน่วยงานภาครัฐ ระหว่างหน่วยงานภาคเอกชน หรือระหว่างหน่วยงานภาครัฐและเอกชน เป็นต้น อันนำไปสู่การยกระดับความรู้และทักษะของ RDI manager ให้สามารถบริหารจัดการงานวิจัย พัฒนา และนวัตกรรมให้มีความเป็นมืออาชีพมากยิ่งขึ้น
-
-
-
-
-
- ขับเคลื่อนการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพ RDI manager
-
- การจัดอบรมเชิงปฏิบัติการ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถของผู้จัดการงานวิจัย พัฒนาและนวัตกรรม หรือ RDI manager ในหน่วยบริหารและจัดการทุน (Program Management Unit: PMU) และหน่วยรับงบประมาณจากกองทุนส่งเสริม ววน. ทั้งในระดับองค์กรและระดับแผนงาน RDI manager ซึ่งมีบุคลากรที่ผ่านการอบรมและสำเร็จหลักสูตร ของ สกสว. และหน่วยงานพันธมิตรที่มีความเชี่ยวชาญในด้านนั้นๆ จำนวนทั้งสิ้น 161 คน ซึ่งแบ่งเป็นจำนวนบุคลากรในกลุ่ม RDI Manager ด้านชุมชนและพื้นที่ จำนวน 39 คน RDI Manager ด้านเศรษฐกิจ จำนวน 39 คน RDI Manager ด้านนโยบาย จำนวน 44 คน และ RDI Executive จำนวน 39 คน ส่วนบุคลากรในระดับปฏิบัติการด้านการบริหารจัดการงานวิจัยและนวัตกรรม (PO) จำนวน 109 คน
- การจัดประชุมเครือข่าย (RDI manager networking) เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้และยกระดับการขับเคลื่อนการบริหารจัดการงานวิจัยและนวัตกรรมร่วมกันของ RDI manager ทั้ง 3 ด้าน อย่างต่อเนื่อง
-
- ขับเคลื่อนการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพ RDI manager
-
-
-
- กรอบการดำเนินงานการพัฒนาระบบเสริมสร้างความเข้มแข็งของหน่วยงานและบุคลากร ววน.
-
![Picture13](https://lms.tsri.or.th/wp-content/uploads/2023/12/Picture13.png)